วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

10.5คำศัพท์เบื้องต้น

อธิบายคำศัพท์เบื้องต้นครับ

  • การโคลนนิ่งฮาร์ดดิสก์ แบ่งได้เป็นสองส่วนคือ การโคลนจากฮาร์ดดิสก์ทั้งก้อน จากก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่ง  หรืออีกแบบคือการโคลนจากพาร์ทิชั่นหนึ่งไปยังอีกพาร์ทิชั่นหนึ่ง โดยผลจากการโคลน หน้าตาของข้อมูลภายในจะมีคุณสมบัติเหมือนกันทุกประการ โดยมีข้อแม้ว่า พาร์ทิชั่นต้นทางจะต้องมีขนาดของข้อมูลที่ใช้ไป น้อยกว่าขนาดของพื้นที่ของพาร์ทิชั่นเป้าหมายที่มีอยู่

  • การแบ่งพาร์ทิชั่น คือการจัดแบ่งส่วนข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วนๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์หนึ่งก้อนเหมือนโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง มองห้องเรียนแต่ละห้องเป็นพาร์ทิชั่นแต่ละไดรฟ์นั่นเองครับ

  • การฟอร์แมต คือ การจัดระเบียบหรือเคลียร์พื้นที่ในแต่ละห้องเรียน ที่ได้แบ่งหรือสร้างห้องไว้ในขั้นตอนการแบ่งพาร์ทิชั่นไว้ให้พร้อมที่จะให้เด็กนักเรียน(ข้อมูล) เข้าไปนั่งเรียนในแต่ละชั้นเรียน

  • สำหรับ ศัพท์อื่นๆ ถามไว้ได้ครับ หรือว่าถามพระอาจารย์ กูเกิ้ลก็ได้ครับ 


10.4การจัดเก็บข้อมูล

  1. การจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล ก็จัดการออกแบบในฮาร์ดดิสก์กันตามสบายนะครับ ขอให้เข้าออกถูกว่าอะไรอยู่ตรงไหนเป็นสำคัญครับผม ระวังอย่าให้หลงก็แล้วกันครับ

  2. จากนั้น เมื่อใช้ๆ ไป ก็ให้มีการทำความสะอาดขยะในซีบ้าง พร้อมมีการทำพวก disk defragmentation บ้างนะครับ ทำ Disk clean up บ้างนะครับ

  3. กรณีสำหรับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ก็ใช้แนวคิดทำนองนี้ได้นะครับ แต่ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ หรือ ยูนิกซ์ จะเป็นระบบที่ค่อนข้างเสถียรพอสมควร ดังนั้น ไม่น่ากังวลเท่าไหร่นะครับ

10.3การติดตั้งโปรแกรม


การติดตั้งโปรแกรม  ในส่วนนี้ หากมีโปรแกรมใหม่ๆ เพิ่มเข้ามาก็ติดตั้งไว้ในซีเพิ่มเติมได้ อาจจะไม่จำเป็นต้องโคลนนิ่งไปทับไว้ใน D อีกก็ได้ครับ เพียงแต่เก็บโปรแกรมเหล่านั้นเอาไว้ หรือจะโคลนนิ่งทับก็แล้วแต่ครับหากมีพื้นที่พอ ตามแต่จะสะดวกนะครับ แต่ในไดรฟ์ซีนั้น ขนาดจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนครับ

10.2การเตรียมพื้นที่ฮาร์ดดิสก์

  1. การเตรียมพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ กรณีนี้นะครับ จำเป็นจะต้องเตรียมฮาร์ดดิสก์เพื่อให้พร้อมกับการติดตั้งข้อมูลนะครับ

    • ฮาร์ดดิสก์นั้นส่วนใหญ่ ตอนซื้อเครื่องมา หากติดตั้งโปรแกรมมาแล้ว จะมีปกติเพียงหนึ่ง พาร์ทิชั่นเท่านั้น ก็คือมีแต่ไดรฟ์ C:\ ให้มานะครับ เพราะทางร้านก็มักจะทำการโคลนนิ่งมาให้ก่อนครับ แบบง่ายๆ รวดเร็วของทางร้าน

    • คือมีการติดตั้งมาแล้วก็ไม่มีปัญหาครับ ก็สามารถที่จะใช้โปรแกรมพวก Partition Magic, Partition Manager อะไรเหล่านี้ในการแบ่งพาร์ทิชันของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นไดรฟ์ย่อยๆ เช่นแทนที่จะมี C:\ ก็มี D, E , F ด้วยขึ้นกับว่าจะมีกี่พาร์ทิชันครับ จากภาพด้านบนก็จะมี 4 พาร์ทิชั่นครับ

    • ขั้นแรกคุณก็อาจจะแบ่งพาทิชั่นไว้ก่อนก็ได้ครับ เช่น แบ่งไว้อย่างน้อย 3 พาร์ทิชั่นครับ ได้แก่

      • พาร์ทิชั่นสำหรับเก็บระบบปฏิบัติการ หรือ โปรแกรมต่างๆ  ส่วนนี้จะเป็น ไดรฟ์ C ส่่วนนี้เราจะติดตั้งระบบปฏิบัติการ แล้วก็มีไดรฟ์เวอร์ทุกอย่างของเครื่องในเบื้องต้นนะครับ และโปรแกรมเบื้องต้นที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน กรณีเครื่องเสียแล้วลงทับได้อย่างรวดเร็ว ก็ให้ลงไว้ให้ครบนะครับ ในพาร์ทิชั่นนี้ อาจจะมีขนาดของพาร์ทิชั่น ซักอย่างน้อย 10-20 Gb (ไดรฟ์ C ในภาพ) ตามแต่ขนาดของฮาร์ดดิกส์และความใหญ่โตในอนาคตนะครับ

      • ส่วนต่อมา คือ ส่วนที่เก็บการติดตั้งพื้นฐานของระบบที่ติดตั้งไว้ในไดรฟ์ C เพื่อทำการแบ็คอัพกลับตอนมีปัญหา ในส่วนนี้ จะมีขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ ขนาดการใช้พื้นที่ตอนที่ติดตั้งครั้งแรกในวินโดวส์พร้อมโปรแกรมพื้นฐาน จะทราบได้โดยไปดูว่า ในไดรฟ์ C นั้นใช้พื้นที่ไปเท่าไหร่ ตอนลงโปรแกรมเสร็จ เช่น ตอนนี้ ซีใช้ไป 5.7 Gb (พื้นที่ U ในภาพ) ก็ให้แบ่งพาร์ทิชั่นที่สองมีขนาดซัก 6-7 Gb (ไดรฟ์ D ในภาพ) นะครับ หลังจากที่ติดตั้งซีเสร็จ ก็มาสร้างพาร์ทิชั่นนี้ หรือปรับลดด้วยโปรแกรม Partition Magic ก็ได้นะครับ เพื่อให้ขนาดมีความเหมาะสม หรือว่าค่อยมาสร้างตอนที่ติดตั้ง C เสร็จแล้วก็ได้นะครับ

      • แล้วใช้โปรแกรม Norton Ghost ในการ โคลนนิ่ง ไดรฟ์ซี ทั้งก้อน มาไว้ใน ไดรฟ์ D ในส่วนที่เตรียมไว้นะครับ เป็นการโคลนแบบ Partition to Partition นะครับ ก็คงใช้เวลาประมาณ 15 นาที ขึ้นกับขนาดความใหญ่ของการติดตั้งในครั้งแรก โคลนนิ่งเสร็จแล้ว ในไดรฟ์นี้ ไม่ต้องไปแตะต้องอะไรมันเลยครับ เอาไว้อย่างนี้ครับ เป็นพื้นที่ที่เก็บเอาไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเช่น ซีพัง ก็ใช้วิธีการ Ghost ด้วยโปรแกรมเดิมนั่นหล่ะครับ จาก D ไปยัง C เป็นการฟื้นระบบใหม่ครับ ก็ใช้เวลาประมาณเท่ากับที่เคยๆ โคลนจาก C มายัง D นั่นเองครับ

      • ส่วนพาร์ทิชั่นถัดๆ ไปเอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลอย่างเดียวนะครับ ผมไม่แนะนำให้เก็บข้อมูลไว้ใน Drive C หรือ D นะครับ ในส่วนนี้ เอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลทุกๆ อย่างที่เราต้องใช้งาน นั่นคือ C จะเจ๊งก็ไม่เป็นไร หากไดรฟ์นี้ไม่เจ๊งหรือพังทั้งก้อนครับ ในนี้แล้วแต่ว่าจะมีกี่พาร์ทิชั่นก็แล้วแต่สะดวกนะครับ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

10.1การติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์


การติดตั้งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สวัสดีครับทุกท่าน

           วันนี้จะแนะนำขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ได้เครื่องใหม่มาเลยครับ จนกว่าจะใช้งานได้แบบคร่าวๆ โดยติดตั้งเพียงครั้งเดียวเพื่อใช้ได้ตลอดอายุการใช้งานของคอมพิวเตอร์นะครับ


http://gotoknow.org/file/mrschuai/clone-harddisk-sm.jpg

ขออธิบายดังต่อไปนี้นะครับ หมายเลขด้านล่างอาจจะไม่สอดคล้องกับหมายเลขในภาพด้านบนนะครับ ต้องใส่หมายเลขด้านบนในภาพเพื่อให้รู้ว่ากล่าวถึงอะไรบ้าง จากบนลงล่างเพื่อแยกแยะเท่านั้นครับ