วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

10.2การเตรียมพื้นที่ฮาร์ดดิสก์

  1. การเตรียมพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ กรณีนี้นะครับ จำเป็นจะต้องเตรียมฮาร์ดดิสก์เพื่อให้พร้อมกับการติดตั้งข้อมูลนะครับ

    • ฮาร์ดดิสก์นั้นส่วนใหญ่ ตอนซื้อเครื่องมา หากติดตั้งโปรแกรมมาแล้ว จะมีปกติเพียงหนึ่ง พาร์ทิชั่นเท่านั้น ก็คือมีแต่ไดรฟ์ C:\ ให้มานะครับ เพราะทางร้านก็มักจะทำการโคลนนิ่งมาให้ก่อนครับ แบบง่ายๆ รวดเร็วของทางร้าน

    • คือมีการติดตั้งมาแล้วก็ไม่มีปัญหาครับ ก็สามารถที่จะใช้โปรแกรมพวก Partition Magic, Partition Manager อะไรเหล่านี้ในการแบ่งพาร์ทิชันของฮาร์ดดิสก์ออกเป็นไดรฟ์ย่อยๆ เช่นแทนที่จะมี C:\ ก็มี D, E , F ด้วยขึ้นกับว่าจะมีกี่พาร์ทิชันครับ จากภาพด้านบนก็จะมี 4 พาร์ทิชั่นครับ

    • ขั้นแรกคุณก็อาจจะแบ่งพาทิชั่นไว้ก่อนก็ได้ครับ เช่น แบ่งไว้อย่างน้อย 3 พาร์ทิชั่นครับ ได้แก่

      • พาร์ทิชั่นสำหรับเก็บระบบปฏิบัติการ หรือ โปรแกรมต่างๆ  ส่วนนี้จะเป็น ไดรฟ์ C ส่่วนนี้เราจะติดตั้งระบบปฏิบัติการ แล้วก็มีไดรฟ์เวอร์ทุกอย่างของเครื่องในเบื้องต้นนะครับ และโปรแกรมเบื้องต้นที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน กรณีเครื่องเสียแล้วลงทับได้อย่างรวดเร็ว ก็ให้ลงไว้ให้ครบนะครับ ในพาร์ทิชั่นนี้ อาจจะมีขนาดของพาร์ทิชั่น ซักอย่างน้อย 10-20 Gb (ไดรฟ์ C ในภาพ) ตามแต่ขนาดของฮาร์ดดิกส์และความใหญ่โตในอนาคตนะครับ

      • ส่วนต่อมา คือ ส่วนที่เก็บการติดตั้งพื้นฐานของระบบที่ติดตั้งไว้ในไดรฟ์ C เพื่อทำการแบ็คอัพกลับตอนมีปัญหา ในส่วนนี้ จะมีขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ ขนาดการใช้พื้นที่ตอนที่ติดตั้งครั้งแรกในวินโดวส์พร้อมโปรแกรมพื้นฐาน จะทราบได้โดยไปดูว่า ในไดรฟ์ C นั้นใช้พื้นที่ไปเท่าไหร่ ตอนลงโปรแกรมเสร็จ เช่น ตอนนี้ ซีใช้ไป 5.7 Gb (พื้นที่ U ในภาพ) ก็ให้แบ่งพาร์ทิชั่นที่สองมีขนาดซัก 6-7 Gb (ไดรฟ์ D ในภาพ) นะครับ หลังจากที่ติดตั้งซีเสร็จ ก็มาสร้างพาร์ทิชั่นนี้ หรือปรับลดด้วยโปรแกรม Partition Magic ก็ได้นะครับ เพื่อให้ขนาดมีความเหมาะสม หรือว่าค่อยมาสร้างตอนที่ติดตั้ง C เสร็จแล้วก็ได้นะครับ

      • แล้วใช้โปรแกรม Norton Ghost ในการ โคลนนิ่ง ไดรฟ์ซี ทั้งก้อน มาไว้ใน ไดรฟ์ D ในส่วนที่เตรียมไว้นะครับ เป็นการโคลนแบบ Partition to Partition นะครับ ก็คงใช้เวลาประมาณ 15 นาที ขึ้นกับขนาดความใหญ่ของการติดตั้งในครั้งแรก โคลนนิ่งเสร็จแล้ว ในไดรฟ์นี้ ไม่ต้องไปแตะต้องอะไรมันเลยครับ เอาไว้อย่างนี้ครับ เป็นพื้นที่ที่เก็บเอาไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเช่น ซีพัง ก็ใช้วิธีการ Ghost ด้วยโปรแกรมเดิมนั่นหล่ะครับ จาก D ไปยัง C เป็นการฟื้นระบบใหม่ครับ ก็ใช้เวลาประมาณเท่ากับที่เคยๆ โคลนจาก C มายัง D นั่นเองครับ

      • ส่วนพาร์ทิชั่นถัดๆ ไปเอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลอย่างเดียวนะครับ ผมไม่แนะนำให้เก็บข้อมูลไว้ใน Drive C หรือ D นะครับ ในส่วนนี้ เอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลทุกๆ อย่างที่เราต้องใช้งาน นั่นคือ C จะเจ๊งก็ไม่เป็นไร หากไดรฟ์นี้ไม่เจ๊งหรือพังทั้งก้อนครับ ในนี้แล้วแต่ว่าจะมีกี่พาร์ทิชั่นก็แล้วแต่สะดวกนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น